วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พฤติกรรมองค์การ ตอนที่ 15 ทฤษฎีสองปัจจัย ของ Herzberg

ในตอนนี้ เรามารู้จักทฤษฎีสองปัจจัย (Two Factors Theory) ของ Herzberg กับครับ
            Frederick Herzberg นักวิชาการชาวสหรัฐ ฯ ได้ศึกษาถึงมูลเหตุในการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน 2 ลักษณะ โดยเชื่อว่าพนักงานมีความต้องการอยู่ 2 ประการที่เป็นอิสระต่อกันและมีผลกระทบต่อพฤติกรรมที่แตกต่างกันโดยความไม่พอใจจะเกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมของงานในขณะที่ความพอใจจะเกิดขึ้นจากลักษณะของงาน
            1. ปัจจัยสุขอนามัย (Hygiene Factors): ปัจจัยที่สนับสนุนโดยให้มีแรงจูงใจในการทำงานมีอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่มีหรือมีในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของพนักงานจะนำไปสู่ความไม่ชอบงาน
            แหล่งที่มาของการทำให้เกิดความไม่พอใจในการทำงานส่วนใหญ่ เกิดจากสภาพงาน เป็นปัจจัยภายนอกไม่ใช่เป็นตัวจูงใจแต่ใช้เพื่อลดความไม่พอใจลง ของพนักงานให้ยอมรับ  ประกอบด้วย 5 ปัจจัย คือ
1.       สภาพการทำงาน ได้แก่ สภาพห้อง อากาศ เครื่องมือเครื่องใช้
2.      ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ได้แก่ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
3.      นโยบายการบริหารขององค์การ
4.      ความรู้ความสามารถของผู้บริหารโดยตรง
5.      ค่าตอบแทนหรือเงินเดือนขั้นพื้นฐาน
เป็นปัจจัยที่มีความจำเป็นที่องค์การต้องจัดให้มีอยู่ในองค์การ หากไม่จัดให้มีปัจจัยเหล่านั้นอย่างเหมาะสมจะเกิดปัญหาในการทำงาน (ไม่มีไม่ได้)
          2. ปัจจัยจูงใจ (Motivator factor): ปัจจัยที่ทำให้พนักงานเกิดความพึงพอใจในการทำงาน เกิดความชอบงานและรักงาน เป็นแหล่งที่มาของการทำให้เกิดความพอใจในการทำงาน (ไม่มีก็ได้)
1.       ความรู้สึกที่ทำให้เกิดความสำเร็จ
2.      ความรู้สึกว่าได้รับการยอมรับ
3.      ความรู้สึกรับผิดชอบ
4.      ความก้าวหน้าในงาน
5.      ความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบงานนั้น
แนวคิดของ Herzberg ได้รับการนำไปใช้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยการรักษาคนที่มีความสามรถให้อยู่กับองค์การ และกระตุ้นให้เขาปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ โดยการออกแบบและจัดระบบงาน การให้ค่าตอบแทนและผลประโยชน์ การพัฒนาอาชีพและการบริหารงานภายในองค์การ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น