วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

พฤติกรรมองค์การ ตอนที่ 32 ระดับของความขัดแย้ง

ระดับความขัดแย้ง
เราสามารถแบ่งระดับความขัดแย้งขององค์การตามลักษณะของผู้ขัดแย้งออกเป็น 6 ระดับได้แก่

1.  ความขัดแย้งภายในบุคคล (Intrapersonal conflict) ซึ่งมีที่มาจากความคิดที่ว่าบุคคลอาจมีความขัดแย้งอยู่ภายในตัวเอง ซึ่งจะเป็นการเลือกระหว่างเป้าหมายที่อาจมากกว่า 1 อย่าง เช่น ความต้องการผลผลิตสูงสุดกับความต้องการลดค่าใช้จ่ายค่าล่วงเวลาของพนักงาน

2.  ความขัดแย้งระหว่างบุคคล (Interpersonal conflict) เกิดขึ้นเมื่อความคิดเห็นของแต่ละบุคคลเกี่ยวกับเป้าหมายหรือผลของการกระทำไม่ตรงกัน บ่อยครั้งจะเกิดจากความแตกต่างของทัศนคติ ค่านิยม หรือการรับรู้ของแต่ละคน

3.  ความขัดแย้งภายในกลุ่ม (Intra-group conflict) มักเป็นความขัดแย้งที่มีผลมาจากสติปัญญา แนวความคิด หรือแนวปฏิบัติของกลุ่ม มีผลทำให้บุคคลในกลุ่มที่มีแนวคิดหรือแนวปฏิบัติแตกต่างกัน เกิดความขัดแย้งกัน

4.  ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม (Inter-group conflict) อาจเกิดขึ้นระหว่างกลุ่มในสายงานที่ต้องทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะงานสนับสนุนซึ่งกันและกันหรืองานวางแผนสั่งการกับงานปฏิบัติการ เช่น ฝ่ายบริหารกับพนักงาน เป็นต้น

5.  ความขัดแย้งภายในองค์การ (Intra-organization conflict) เกิดขึ้นเมื่อมีความขัดแย้งในภาพรวมขององค์การ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ
      -   ความขัดแย้งในแนวดิ่ง เกิดขึ้นกับบุคคลหรือตำแหน่งที่อยู่คนละระดับขององค์การ
      -   ความขัดแย้งในตำแหน่งที่ขนานกัน เกิดขึ้นกับพนักงานหรือหน่วยงานที่อยู่ในระดับเดียวกัน
      -   ความขัดแย้งทแยงมุม เป็นความขัดแย้งในลักษณะข้ามหน่วยงานหรือข้ามโครงสร้างองค์การ

6.  ความขัดแย้งระหว่างองค์การ (Inter-organization conflict) เป็นความขัดแย้งระหว่างองค์การต่อองค์การ ซึ่งอาจมีเงื่อนไขมาจากการแข่งขันกันทางธุรกิจ การสร้างพลังอำนาจการต่อรอง

ในภาวะที่คนไทยนับล้านประสบภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ ก็ขอให้พยายามต่อสู้ต่อไปครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น