วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554

พฤติกรรมองค์การ ตอนที่ 33 กระบวนการความขัดแย้ง

กระบวนการความขัดแย้ง
ความขัดแย้งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นระหว่าง 2 ฝ่าย หรือมากกว่า 2 ฝ่ายขึ้นไป คำว่าฝ่ายในที่นี้หมายถึง บุคคล หรือองค์การก็ได้
Alan Filley (1975) ได้เสนอกระบวนการความขัดแย้ง โดยแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้
1)      สภาพก่อนเกิดความขัดแย้ง (Antecedent Condition of Conflict) เป็นลักษณะของสภาพการณ์ที่อาจปราศจากความขัดแย้ง แต่จะนำไปสู่การขัดแย้ง
2)      ความขัดแย้งที่รับรู้ได้ (Perceived Conflict) เป็นการรับรู้จากสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นของฝ่ายต่าง ๆ ว่ามีความขัดแย้งเกิดขึ้น
3)      ความขัดแย้งที่รู้สึกได้ (Felt Conflict) เป็นความรู้สึกของบุคคลว่าเกิดความขัดแย้ง โดยอาจมีความรู้สึกว่า ถูกคุกคาม ถูกเกลียดชัง กลัว หรือไม่ไว้วางใจ
4)      พฤติกรรมที่ปรากฏชัด (Manifest Behavior) เป็นการแสดงออกของบุคคลเมื่อรับรู้ หรือ รู้สึกว่ามีความขัดแย้งเกิดขึ้น อาจแสดงความก้าวร้าว การแข่งขัน การโต้เถียงหรือการแก้ปัญหา
5)      การแก้ปัญหาหรือระงับความขัดแย้ง (Conflict Resolution or Supervision) เป็นการทำให้ความขัดแย้งสิ้นสุดลง อาจโดยให้ทุกฝ่ายตกลงกัน หรือให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดชนะไป
6)      ผลจากการแก้ปัญหา (Resolution Aftermath) เป็นผลที่เกิดขึ้นหลังจากแก้ปัญหาแล้ว

วันนี้ก็เป็นอีกวันหนึ่งที่น้ำกำลังเข้าโจมตีกรุงเทพ เป็นอีกวันที่พี่น้องชาวไทยต้องประสบภัยที่ไม่น่าจะเกิด ก็ขอบันทึกเอาไว้เตือนความจำครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น