วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พฤติกรรมองค์การ ตอนที่ 18 พัฒนาการของกลุ่ม

พัฒนาการของกลุ่ม (Group Development)
เราสามารถแบ่งขั้นตอนการพัฒนาของกลุ่มโดยทั่วไปออกได้เป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่
1.       การก่อตัว (Forming) บุคคลแต่ละคนเริ่มที่จะเข้ามารวมตัวกันเป็นกลุ่ม โดยที่การรวมตัวกันยังไม่มีจุดประสงค์ โครงสร้าง และลักษณะการทำงานของกลุ่มที่ชัดเจน โดยสมาชิกต่างจะมีการทดสอบพฤติกรรม การแสดงออก และปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน เพื่อที่จะดูท่าที การยอมรับ การต่อต้าน และพยายามหาแนวทางสำหรับอนาคต
2.      ภาวะโกลาหล (Storming) เนื่องจากบุคคลแต่ละคนจะมีเอกลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนั้นการที่แต่ละคนมารวมตัวกันย่อมเกิดความขัดแย้ง (Conflict) ขึ้น โดยความขัดแย้งอาจเกิดขึ้นระหว่างบุคคลต่อบุคคล หรือบุคคลต่อกลุ่ม ซึ่งทำให้สมาชิกในกลุ่มต้องปรับตัวเข้าสู่ภาวะที่เหมาะสม และสมาชิกที่ไม่สามารถอยู่กับกลุ่มได้จะแยกตัวออกไป
3.      การสร้างบรรทัดฐาน (Norming) สมาชิกจะมีการพัฒนาความสัมพันธ์ส่วนบุคคล มีการสร้างค่านิยม บรรทัดฐาน ความสามัคคีในหมู่คณะ ตลอดจนมีการจัดโครงสร้างของกลุ่มและวางแนวปฏิบัติที่เหมาะสม
4.      การปฏิบัติงาน (Performing) เมื่อกลุ่มมีการพัฒนาขึ้นตามลำดับจนกระทั่งสมาชิกมีความเข้าใจร่วมกันและมีความรู้สึกเป็นส่วนร่วมของกลุ่มแล้ว กลุ่มก็จะทำหน้าที่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
5.       การแยกตัว (Separating) เมื่อกลุ่มบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้แล้ว ถ้าไม่มีการปรับปรุงเป้าหมายหรือวางแนวทางการปฏิสัมพันธ์ใหม่ สมาชิกแต่ละคนก็จะแยกย้ายกันออกไปจากกลุ่ม ส่งผลให้กลุ่มสลายตัวในที่สุด

สำหรับตอนนี้ขอสั้น ๆ แค่นี้ครับ ตอนต่อไปจะเขียนถึงตัวแบบพติกรรมกลุ่มครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น